การขออนุมัติกลับไปเก็บข้อมูลเพื่อทำวิทยานิพนธ์ในประเทศไทย
- หมวด: หลักเกณฑ์การศึกษาสำหรับ นทร. ทุนก.พ. ไทยพัฒน์ ก.วิทย์ฯ สกอ.
- ฮิต: 802
หลักเกณฑ์ในการขออนุมัติและเอกสารประกอบการพิจารณา ดังนี้
อ่านเพิ่มเติม...หลักเกณฑ์ในการขออนุมัติและเอกสารประกอบการพิจารณา ดังนี้
อ่านเพิ่มเติม...มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
อ่านเพิ่มเติม...1. แจ้งกำหนดวันเดินทางกลับให้ สนร. ทราบ (สามารถดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้ ที่นี่) สำหรับผู้ที่ได้รับอนุมัติให้ศึกษา ฝึกอบรมเกิน 1 ปี ต้องเดินทางกลับให้ถึงประเทศไทยและรายงานตัวกลับเข้าปฏิบัติราชการภายใน 20 วัน นับตั้งแต่วันที่สอบเสร็จหรือวันที่ทราบว่าสำเร็จการศึกษาโดยสมบูรณ์แล้ว
2. จัดเตรียมเอกสารต่างๆเพื่อจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ. ดังนี้
- หนังสือรับรองว่าสำเร็จการศึกษาฉบับภาษาอังกฤษ ออกโดยสถาบันการศึกษาหรือหน่วยงานใดในสถาบันการศึกษาที่มีอำนาจในการออกหนังสือรับรอง หรือหนังสือรับรองจากคณะกรรมการมหาวิทยาลัยว่าสอบวิทยานิพนธ์ผ่านแล้ว หรือ ส่งวิทยานิพนธ์แล้ว
- ใบระเบียนผลการเรียน (Transcript) ฉบับสมบูรณ์ภาษาอังกฤษ
***อนึ่งเอกสารเหล่านี้ควรขอไว้หลายชุด เพื่อสะดวกในการใช้งานเมื่อเดินทางกลับประเทศไทย***
- สำหรับ นทร.ที่ศึกษาในระบบที่ต้องทำวิทยานิพนธ์ ให้จัดเตรียมวิทยานิพนธ์ที่จัดทำเป็นรูปเล่มเสร็จสมบูรณ์แล้ว 1 เล่ม (สามารถส่งเป็น CD ได้) และสำเนาคัดย่อวิทยานิพนธ์ (Abstract) จำนวน 1 ฉบับ เพื่อจัดส่งให้สำนักงาน ก.พ. และในกรณีที่ได้รับอนุมัติให้อยู่ฝึกงาน หรือดูงานภายหลังสำเร็จการศึกษา นทร.จะต้องส่งรายงานการฝึกงาน หรือดูงานให้สำนักงาน ก.พ. เมื่อไปรายงานตัวด้วย
- หนังสือชี้แจงหลักสูตรการศึกษา (ฉบับภาษาอังกฤษ) ของสถานศึกษาที่ นทร. สำเร็จการศึกษาเพื่อประโยชน์ในการพิจารณาคุณวุฒิ (หากมี)
3. บอกยกเลิกที่พักล่วงหน้าตามระยะเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาเช่า แจ้งยกเลิกสาธารณูปโภคประปา/ไฟฟ้า/แก๊ส ฯลฯ ให้เรียบร้อย และในวันออกจากห้องพัก ต้องตรวจสอบว่าได้ขนย้ายสัมภาระตลอดจนขยะออกจากที่พักอาศัยเป็นที่เรียบร้อยแล้วทั้งหมด เพื่อไม่ให้เกิดค่าปรับเพิ่มเติม
4. แจ้งปิดบัญชีธนาคาร หมายเลขโทรศัพท์ บริการอินเตอร์เน็ต ฯลฯ
5. ตรวจสอบว่าไม่มีค่าใช้จ่ายค้างชำระใดๆหลงเหลืออยู่ อาทิ กับสถานศึกษา ที่พักอาศัย สาธารณูปโภค และอื่นๆ และดำเนินการจัดส่งใบเสร็จรับเงินค่าใช้จ่ายทางการศึกษาทั้งหมดให้ สนร. ก่อนเดินทางกลับประเทศไทย
6. ดำเนินการซื้อตั๋วเครื่องบินเพื่อเดินทางกลับประเทศ โดยซื้อตั๋วโดยสารเครื่องบินเที่ยวเดียวของบริษัทการบินไทยเท่านั้น ทั้งนี้ เบิกได้ตามอัตราที่การบินไทยกำหนด และโปรดจัดส่งคำร้องขอเบิกพร้อมใบเสร็จรับเงิน และสำเนาตั๋วโดยสารเครื่องบิน เพื่อแสดงการเดินทางจริงมาที่ สนร. อนึ่ง สนร. จะทำการตรวจสอบและจัดส่งคำร้องให้สำนักงาน ก.พ. กลุ่มงานคลังดำเนินการเบิกจ่ายต่อไป (สามารถดูรายละเอียดการเบิกได้ ที่นี่)
7. เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับของ นทร. อันประกอบด้วย เงินติดตัว ค่าระวางขนสิ่งของกลับประเทศไทย ค่าธรรมเนียมการใช้สนามบิน ค่าพาหนะนั้น สำนักงาน ก.พ. จะเหมาจ่ายเป็นเงินรวมทั้งสิ้น 450.- ดอลล่าร์สหรัฐ โดยทำการขอเบิกได้ที่กลุ่มงานคลัง สำนักงาน ก.พ. หลังจากเดินทางกลับถึงประเทศไทย
8. ไปที่สำนักงานเขตภายในระยะเวลาก่อนที่จะเดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่น 14 วัน เพื่อดำเนินขั้นตอนแจ้งย้ายออกจากที่พักอาศัยก่อน แล้วจึงไปทำเรื่องคืนบัตรประกันสุขภาพต่อไป โดยแจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเขตว่าจะเดินทางออกจากประเทศญี่ปุ่นวันไหนเพื่อเจ้าหน้าที่จะได้คำนวณค่าเบี้ยประกันและดำเนินการให้บัตรมีอายุถึงวันที่เดินทางออกนอกประเทศ ทั้งนี้ ทางสำนักงานเขตจะให้ซองเพื่อส่งบัตรคืนทางไปรษณีย์มาให้ด้วย (อนึ่ง นักเรียนควรส่งบัตรประกันสุขภาพคืนในวันสุดท้ายที่จะขึ้นเครื่องบินเดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่น) และควรคอนเฟริม์ทางสำนักงานเขตของตัวเองว่าต้องนำเอกสารอะไรไปบ้าง
9. ต้องคืนบัตรประจำตัวคนต่างด้าวหรือ Residence Card ให้เจ้าหน้าที่ที่ด่านตรวจฯ ที่สนามบินญี่ปุ่นในวันเดินทางออกนอกประเทศญี่ปุ่น โดยเจ้าหน้าที่จะเจาะรูที่บัตรและคืนให้ หากผู้ใดไม่ดำเนินการ เมื่อเข้าญี่ปุ่นครั้งหน้าและไม่สามารถคืนบัตรได้ จะถูกปรับเป็นจำนวนเงิน 200,000.- เยน
10. เมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทยนักเรียนต้องรีบรายงานตัวต่อสำนักงาน ก.พ. ในโอกาสแรกก่อนที่จะไปรายงานตัว ณ หน่วยงานต้นสังกัดโดยปฏิบัติดังนี้
- รายงานตัวที่ศูนย์จัดการศึกษาในต่างประเทศและบริหารความรู้เพื่อจะได้ดำเนินการขั้นตอนส่งตัวนักเรียนเข้ารับราชการชดใช้ทุนต่อไป
- รายงานตัวที่สำนักงานเลขาธิการ (กลุ่มงานคลัง) เพื่อเคลียร์เกี่ยวกับค่าใช้จ่ายในการเดินทางกลับประเทศไทย
11. รายงานตัวกับหน่วยต้นสังกัด สำหรับนักเรียนทุนที่มีสถานะเป็นข้าราชการหรือพนักงานของรัฐก่อนเดินทางที่ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ตั้งอยู่เขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะต้องรายงานตัวกับต้นสังกัดภายในวันถัดจากวันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทย หากหน่วยงานที่ตั้งอยู่ต่างจังหวัดต้องรายงานตัวภายใน 2 วันนับจากวันที่เดินทางกลับถึงประเทศไทย
12. รายงานตัวกับหน่วยงานเจ้าของทุน สำหรับนักเรียนทุนทุกประเภททุน ยกเว้น ทุน ก.พ. เช่น ทุน กต. นักเรียนทุนรัฐบาลทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทุน สกอ. ฯลฯ ขอให้ติดต่อรายงานตัวเมื่อเดินทางกลับถึงประเทศไทยกับหน่วยงานเจ้าของทุนด้วย
13. สำหรับผู้ที่ต้องการอยู่ฝึกงานหรือดูงานต่อภายหลังสำเร็จการศึกษา ต้องขออนุมัติอยู่ฝึกงานหรือดูงานล่วงหน้าอย่างน้อย 60 วัน ก่อนวันครบกำหนดเดินทางกลับประเทศไทย
14. การเตรียมเก็บสัมภาระควรเริ่มจัดลงกล่องแต่เนิ่นๆ และค้นหาบริษัทที่ให้บริการส่งของกลับประเทศไทยทางเรือในกรณีที่มีสัมภาระเป็นจำนวนมาก ข้อมูลบริษัทบริการขนส่งสิ่งของกลับประเทศไทย เช่น
- บริษัทซีทรานซ์ Tel. 090-9109-8594 หรือ 0427-369-927
- บริษัทเคงโก Tel. 03-5492-7222
สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯขอแจ้งหลักเกณฑ์การขออนุมัติศึกษาต่อในระดับสูงขึ้นในภาค/ปีการศึกษาหน้าเพื่อจะได้ถือปฏิบัติเป็นแนวทางเดียวกัน และใช้อ้างอิงในการขออนุมัติและเบิกค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังต่อไปนี้
อ่านเพิ่มเติม...หลักเกณฑ์การขออนุมัติไปร่วมประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการของนักเรียนระดับปริญญาเอก
เพื่อให้การขออนุมัติและเบิกค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปร่วมประชุมหรือสัมมนาทางวิชาการเป็นไปในแนวทางเดียวกัน และเพื่อใช้อ้างอิงในการขออนุมัติและเบิกค่าใช้จ่าย สำนักงานผู้ดูแลนักเรียนฯ จึงขอแจ้งหลักเกณฑ์การเบิกค่าใช้จ่าย ดังนี้
อ่านเพิ่มเติม...สำหรับนักเรียนทุนรัฐบาลไทย ทุน ก.พ. และทุนไทยพัฒน์ที่ยังไม่มีต้นสังกัดระบุว่าหลังจบการศึกษาให้ทำงานที่ใด
สามารถทำเรื่องขอฝึกงานยังหน่วยราชการไทยระหว่างปิดภาคการศึกษาได้
อ่านเพิ่มเติม...สิงหาคม 31, 2565 %COMMENTS
มกราคม 13, 2558 %COMMENTS
ตุลาคม 22, 2556 %COMMENTS
สิงหาคม 15, 2556 %COMMENTS
สิงหาคม 15, 2556 %COMMENTS
สิงหาคม 15, 2556 %COMMENTS
สิงหาคม 15, 2556 %COMMENTS
สิงหาคม 15, 2556 %COMMENTS
สิงหาคม 15, 2556 %COMMENTS
สิงหาคม 15, 2556 %COMMENTS
สิงหาคม 15, 2556 %COMMENTS